ปัจุบันทั่วโลก
ได้จำแนกประเภทอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ 9 ประเภท
(ตามข้อมูลคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจร่างกฎหมายอาชญากรรมทาคอมพิวเตอร์)
1.
การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต รวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
2.
การปกปิดความผิดของตัวเอง โดยใช้ระบบการสื่อสาร
3.
การละเมิดลิขสิทธิ์ ปลอมแปลงรูปแบบเลียนแบระบบซอฟแวร์โดยมิชอบ
4.
การเผยแพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
5.
การฟอกเงิน
6. การก่อกวน
ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ทำลายระบบสาธารณูปโภค เช่น ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไฟ
จราจร
7.
การหลอกลวงให้ร่วมค้าขาย หรือ ลงทุนปลอม
(การทำธุรกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย)
8.
การลักลอบใช้ข้อมูลเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ เช่น
การขโมยรหัสบัตรเครดิต
9.
การใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนบัญชีผู้อื่นเป็นของตัวเอง
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 4 ลักษณะ คือ
1.
การเจาะระบบรักษาความปลอดภัย ทางกายภาพ ได้แก่ ตัวอาคาร
อุปกรณ์และสื่อต่างๆ
2.
การเจาะเข้าไปในระบบสื่อสาร และการ
รักษาความปลอดภัยของซอฟต์แวร์ข้อมูลต่างๆ
3.
เป็นการเจาะเข้าสู่ระบบรักษาความปลอดภัย ของระบบปฏิบัติการ(Operating
System)
4.
เป็นการเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคล
โดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางในการกระทำความผิด
ตัวอย่างอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
1.
Morris
Case
การเผยแพร่หนอนคอมพิวเตอร์ (Worm)
โดยนายโรเบิร์ต
ที มอริส นักศึกษา สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล
หนอน
(worm)
สามารถระบาดติดเชื้อจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่ง
ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ โดยมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว
;
ศาลตัดสินจำคุก
3 ปี แต่ให้รอลงอาญา โดยให้บริการสังคมเป็นเวลา 400 ชั่วโมง
และปรับเป็นเงิน 10,050
ดอลลาร์สหรัฐ
2.
Digital
Equipment case
เดือนธันวาคม ค.ศ.1980 เครือข่ายของบริษัท Digital
Equipment Corporation
ประสบปัญหาการทำงาน
โดยเริ่มจากบริษัท U.S
Leasing
- คนร้ายโทร.
ปลอมเป็นพนักงานคอมของ บริษัท Digital
Equipment
-
ขอเข้าไปในระบบ(Access)โดยขอหมายเลขบัญชีผู้ใช้
(Account
Number) และรหัสผ่าน
(password)
-
ต่อมามีการตรวจสอบ
-
มีการก่อวินาศกรรมทางคอมพิวเตอร์
*
คอมพิวเตอร์พิมพ์ข้อความหยาบคาย เครื่องพิมพ์ พิมพ์กระดาษเต็มห้อง
*ลบข้อมูลในไฟล์บริษัททิ้งหมด
เช่น ข้อมูลลูกค้า สินค้าคงคลัง ใบเรียกเก็บเงิน
3.
“141 Hackers”
และ
“War
Game”
ภาพยนตร์ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1983
“141
Hackers”
การเจาะระบบสาธารณูปโภคของสหรัฐอเมริกา
“War Game”
การเจาะระบบจนกระทั่งเกือบเกิดสงครามปรมาณู ระหว่าง สหรัฐอเมริกา
และโซเวียต
ทั้งสองเรื่อง
ถูกนำเข้าสู่ที่ประชุมของสภาคองเกรส (Congress)
4.
ไวรัส Logic
bomb/Worm ใน Yahoo
ทำลายระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการของ Yahoo ในปี
1997
ทำลายระบบคอมพิวเตอร์นับล้านเครื่อง
5.
การเจาะระบบข้อมูลของ Kevin
Mitnick
โดยเจาะระบบของนักฟิสิกส์ Shimomura
ของ
San
Diego Supercomputer
center
- เจาะระบบการบริการออนไลน์
The
Well
- เจาะระบบโทรศัพท์มือถือ
- ไม่แสวงหาผลประโยชน์
- Mitnick
เจาะระบบข้อมูลเหมือนคนติดยาเสพติด
ไม่สามารถเลิกได้
6.
การปล้นเงินธนาคารพาณิชย์ 5.5 ล้านบาท
คนร้ายเป็นอดีตพนักงานธนาคาร
โดยมีคนในร่วมทำผิด เป็นทีม
วิธีการ
- โดยการปลอมแปลงเอกสารหลักฐาน
เพื่อขอใช้บริการ ฝาก-ถอน
- โอนเงินผ่านอินเตอร์เน็ต
“อินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง” ซึ่งเป็นบัญชี ของลูกค้าที่มีการฝากเงินไว้เป็นล้าน
- เมื่อได้รหัสผ่าน(Password)แล้ว
ทำการโอนเงินจากบัญชีของเหยื่อ ทางอินเตอร์เน็ต
และทางโทรศัพท์ (เทโฟนแบงค์กิ้ง) ไปเข้าอีกบัญชีหนึ่ง ซึ่งได้เปิดไว้โดยใช้หลักฐานปลอม
*
ใช้บริการคอมฯ จากร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่หลายแห่ง
* ใช้
A.T.M.
กดเงินได้สะดวก
(ปัจจุบัน
ร.ร.คอมฯเปิดสอนเกี่ยวกับการแฮคเกอร์ข้อมูล, การใช้อินเตอร์เน็ตคาเฟโดยเสรี
ไม่กำหนดอายุ
เงื่อนไข การแสดงบัตรประชาชน)
7.
การทุจริตในโรงพยาบาล และบางบริษัท
โดยการทำใบส่งของปลอมจากคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมคอมพิวเตอร์
ยักยอกเงินโรงพยาบาล 40,000
เหรียญ
โดยการทำใบส่งของปลอมที่กำหนดจากเครื่องคอมพิวเตอร์โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่
ควบคุมสินเชื่อ จัดทำใบส่งของปลอม จากบริษัทที่ตั้งขึ้นปลอม โดยให้เช็คสั่งจ่ายบริษัทปลอมของตัวเองที่ตั้งขึ้น
สูงถึง
155,000
เหรียญ
8.
การทุจริตในบริษัทค้าน้ำมัน
พนักงานควบคุมบัญชี สั่งให้คอมพิวเตอร์นำเช็คจ่ายภรรยา แทนการจ่ายให้แก่เจ้าของที่ดิน
โดยการแก้ไขรหัสผู้รับเงิน
9.
การทุจริตในธนาคารของเนเธอร์แลนด์
ผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ และผู้ช่วยถูกจับในข้อหายักยอกเงินธนาคารถึง 65 ล้านเหรียญ
ภายใน 2 ปี โดยการแก้ไขรหัสโอนเงินที่สามารถโอนเงินผ่านคอมพิวเตอร์
10.
การทุจริตในบริษัทประกัน
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินไหมทดแทนของบริษัท ทำการทุจริตเงินของ บริษัทจำนวน
206,000
เหรียญ
ในรอบ 2 ปี ใช้ความรู้เรื่องสินไหมทดแทน
โดยใช้ชื่อผู้เสียหายปลอมแต่ใช้ที่อยู่ของตัวเองและแฟน
11.
ระบบคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยมิชิแกน
ระบบข้อมูลซึ่งประมวลโดยคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้สามารถจัดการข้อมูลได้ มากกว่า 1 คน
ทำให้ระบบข้อมูลนักศึกษา 43,000
คนได้รับความเสียหาย
คะแนนเฉลี่ยถูกเปลี่ยน
ข้อมูลบางอย่างถูกลบ
12.
การทุจริตในบริษัทแฟรนไชส์
เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ของบริษัทผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ ทำการทุจริต ลบข้อมูลสินค้าคงคลัง
และค่าแรงของแฟรนไชส์ 400 แห่ง
13.
การทุจริตในกรมสวัสดิการสังคมของแคลิฟอร์เนีย
หัวหน้าและเสมียน ยักยอกเงินไปกว่า 300,000 เหรียญ
ภายในหนึ่งปี โดยการร่วมกันจัดทำใบเบิกปลอม
และไม่ผ่านกระบวนการอนุมัติที่ถุกต้อง
14.
การทุจริตสนามม้าแข่งในออสเตรเลีย
เสมียนที่ควบคุมในระบบม้าแข่งแห่งหนึ่งของรัฐบาลได้ทุจริต การแก้ไขเวลาในเครื่องให้ช้าลง
3 นาที
ทราบผลการแข่งขันจะโทรแจ้งแฟน
ความเสียหายที่เกิดขึ้น
ไม่มีใครพิสูจน์ทราบ ไม่รู้ว่าทำมานานเท่าใด จับได้เพราะแฟนสาวโกรธที่ได้เงินมาแล้วแบ่งให้หญิงอื่น
15.
การทุจริตโกงเงินในบริษัท
เช่น โปรแกรมเมอร์นำเอาโปรแกรมบัญชีฝากเผื่อเรียก
มายักยอกเบิกเกินบัญชี ในบัญชีตนเอง
เป็นเวลา6เดือนรวม 1,357
เหรียญ
พนักงานที่ถูกนายจ้างไล่ออกได้ทำลายข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในระบบon-line
เจ้าหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานแผนกคอมพิวเตอร์ ขโมยที่อยู่ของลูกค้า จำนวน 3 ล้านราย
เพื่อเรียกค่าไถ่จากบริษัท รองประธานระบบคอมพิวเตอร์
หัวหน้าปฏิบัติการของธนาคารร่วมกับ
บุคคลภายนอกอีก
3 คน โอนเงินจากบัญชีของลูกค้าที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ไปเข้าบัญชีที่จัดทำขึ้นมา
ผู้ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์กดปุ่ม “Repeat”
เพื่อจัดทำเช็คให้ตนเองถึง 200 ใบ
แต่ถูกจับขณะนำเช็คใบที่ 37 ไปแลกเงินสดจากธนาคาร
การบันทึกรายการปลอม พนักงานคอมพิวเตอร์ต่อรองให้ทางบริษัทขึ้นเงินเดือนให้ทั้งแผนก
ไม่เช่นนั้น
ใบส่งของจำนวน 28,000
ใบ
ที่กำลังจะส่ง จะถูกลดราคาลงไป 5%
ผู้วิเคราะห์ของระบบห้างสรรพสินค้าใหญ่ สั่งซื้อสินค้าจากห้างราคาแพงแต่ให้
คอมฯพิม์ราคาต่ำ
ที่มา : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/374163
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น